หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
|
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556
ซอฟท์แวร์ (Software)
|
ความ |
การ ใช้ งาน คอมพิวเตอร์ ต้อง มี ซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่ง อาจ เป็น ซอฟต์แวร์สำเร็จ ที่ มี ผู้ พัฒนา เพื่อ ใช้ งาน ทั่ว ไป ทำ ให้ ทำ งาน ได้ สะดวก ขึ้น หรือ อาจ เป็น ซอฟต์แวร์ใช้ งาน เฉพาะ ซึ่ง ผู้ ใช้ เป็น ผู้ พัฒนา ขึ้น เอง เพื่อ ให้ เหมาะ สมกับสภาพ การ ทำ งาน ของ ตน
ซอฟท์แวร์ |
ชนิด |
- ซอฟต์แวร์ระบบ
คือ ซอฟต์แวร์ที่ บริษัท ผู้ ผลิต สร้าง ขึ้น มา เพื่อ ใช้ จัด การกับระบบ หน้า ที่ การ ทำ งาน ของ ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำ เนิน งาน พื้น ฐาน ต่าง ๆ ของ ระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น รับ ข้อ มูล จาก แผง แป้น อักขระ แล้ว แปล ความ หมาย ให้ คอมพิวเตอร์ เข้า ใจ นำ ข้อ มูล ไป แสดง ผล บน จอ ภาพ หรือ นำ ออก ไป ยังเครื่องพิมพ์ จัด การ ข้อ มูล ใน ระบบ แฟ้ม ข้อ มูล บน หน่วย ความ จำ รอง - เมื่อ
เรา เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทัน ที ที่ มี การ จ่าย กระแส ไฟ ฟ้า ให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ จะ ทำ งาน ตาม โปรแกรม ทัน ที โปรแกรม แรก ที่ สั่ง คอมพิวเตอร์ ทำ งาน นี้ เป็น ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบ อาจ เก็บ ไว้ ใน รอม หรือ ใน แผ่น จาน แม่ เหล็ก หาก ไม่ มี ซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์ จะ ทำ งาน ไม่ ได้ - ซอฟต์แวร์ระบบ
ยัง ใช้ เป็นเครื่องมือ ใน การ พัฒนา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ และ ยัง รวม ไป ถึง ซอฟต์แวร์ที่ ใช้ ใน การ แปล ภาษา ต่าง ๆ
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์
เป็น ซอฟต์แวร์ที่ ใช้กับงาน ด้าน ต่าง ๆ ตาม ความ ต้อง การ ของ ผู้ ใช้ ที่ สามารถ นำ มา ใช้ ประ โยชน์ ได้ โดย ตรง ปัจจุบัน มี ผู้ พัฒนา ซอฟต์แวร์ใช้ งาน ทางด้าน ต่าง ๆ ออก จำหน่าย มาก การ ประยุกต์ งาน คอมพิวเตอร์ จึง กว้าง ขวาง และ แพร่ หลาย เรา อาจ แบ่ง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ออก เป็น สอง กลุ่ม คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และ ซอฟต์แวร์ที่ พัฒนา ขึ้น ใช้ งาน เฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ใน ปัจจุบัน มี มาก มาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวล คำ ซอฟต์แวร์ตา ราง ทำ งาน ฯล ฯ - ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟท์แวร์ |
-
- ใช้
ใน การ จัด การ หน่วย รับ เข้า และ หน่วย ส่ง ออก เช่น รับ การ กด แป้น ต่าง ๆ บน แผง แป้น อักขระ ส่ง รหัส ตัว อักษร ออก ทางจอ ภาพ หรือเครื่องพิมพ์ ติด ต่อกับอุปกรณ์ รับ เข้า และ ส่ง ออก อื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์ สังเคราะห์ เสียง
- ใช้
ใน การ จัด การ หน่วย ความ จำ เพื่อ นำ ข้อ มูล จาก แผ่น บัน ทึก มา บรรจุ ยัง หน่วย ความ จำ หลัก หรือ ใน ทำนอง กลับ กัน คือ นำ ข้อ มูล จาก หน่วย ความ จำ หลัก มา เก็บ ไว้ ใน แผ่น บัน ทึก
- ใช้
เป็น ตัว เชื่อม ต่อ ระหว่าง ผู้ ใช้ งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถ ใช้ งาน ได้ ง่ายขึ้น เช่น การ ขอ ดู ราย การ สารบบ ใน แผ่น บัน ทึก การ ทำ สำเนา แฟ้ม ข้อ มูล - ใช้
ซอฟท์แวร์ |
บุคลากร (Peopleware)
หมายถึง
บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์
ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สามารถใช้งาน
สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ 1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน 2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ 4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น อ้างอิงจาก http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page43.htm |
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง
สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard)
และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์
แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้
จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์
(Computer System)"
ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง
โปรแกรม (Program)
หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้อง
การ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ใน
ทันที
ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตาม
ต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ
ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language)
ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบ
ต่าง ๆ ขึ้นมาซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็น
ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ
ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น
ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น
เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น
งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร
ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ
หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ
เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ
ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน
แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก
เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ
นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ
หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้
ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure)
เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์
ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน
มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจาก
นั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น
การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
อ้างอิงจาก http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%
B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%
B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%
B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa
=X&ei=2lgLUqLYFof7iQfPh4HQDw&sqi=2&ved=0CCoQsAQ&biw=1366&bih=606#fac
rc=_&imgdii=_&imgrc=Q_0KGQ4vklTUnM%3A%3BlWlZRM2YJzcngM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thaigoodview.com%252F
files%252Fu57057%252Fc3.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thaigoodview.co
m%252Fnode%252F105981%3B600%3B492
|
ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
1.1 Power Supply
1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
1.2.1 CPU
1.2.2 RAM
1.2.3 Expansion Slots
1.2.4 Ports
1.3 Hard Disk
1.4 Floppy Disk Drive
1.5 CD-ROM Drive
1.6 DVD-ROM Drive
1.7 Sound Card
1.8 Network Card
2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
2.1 Keyboard
2.2 Monitor
2.3 Mouse
2.4 Printer
2.5 Scanner
2.6 Digital Camera
2.7 Modem
1.1 Power Supply
1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
1.2.1 CPU
1.2.2 RAM
1.2.3 Expansion Slots
1.2.4 Ports
1.3 Hard Disk
1.4 Floppy Disk Drive
1.5 CD-ROM Drive
1.6 DVD-ROM Drive
1.7 Sound Card
1.8 Network Card
2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
2.1 Keyboard
2.2 Monitor
2.3 Mouse
2.4 Printer
2.5 Scanner
2.6 Digital Camera
2.7 Modem
เคส (Case)
คือ
ส่วนที่เป็นกล่องหรือตัวถังสำหรับบรรจุแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ตัวจ่ายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ
เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่เสียหายจากแมลง
หรือฝุ่นละอองต่างๆ เคสที่ดีไม่ใช่แค่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย
ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower)
Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้
Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า
เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้ แต่มีข้อได้เปรียบ Case แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า
จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี
อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.pattani1.go.th/wbi/page1/na46.htm
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer
ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง
ๆ
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำ สั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
มี 4 ประการ คือ
1. ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์
2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์
เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน
โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก
4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล
(Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่
ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด
การทำงานของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
3. แสดงผลลัพธ์ คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง
ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้
อ้างอิง http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in_1p1.html
หน่วยรับเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลอาจส่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลได้โดยตรง เช่น ผ่านแผงแป้นอักขระ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) ปากกาแสง (Light Pen) ก้านควบคุม (Joystick) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) หรือโดยใช้อุปกรณ์รับข้อมูลอ่านข้อมูลในสื่อข้อมูล ซึ่งในกรณีนี้ต้องนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อข้อมูลเสียก่อน ตัวอย่างของอุปกรณ์รับข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก (Disk Drive) เครื่องขับเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape Drive) สำหรับตัวอย่างสื่อข้อมูล ได้แก่ แผ่นบันทึก (Floppy Disk หรือ Diskette) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นต้น โดยอุปกรณ์รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้ามาให้อยู่ในรูปของรหัส แล้วส่งไปยังหน่วยความจำเพื่อเตรียมทำการประมวลผลต่อไปอุปกรณ์รับเข้าใน ปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำข้อมูลเข้าที่ต่าง ๆ กัน เราอาจแบ่งประเภทของอุปกรณ์รับเข้าตามลักษณะการรับข้อมูลเข้าได้ดังนี้
1.อุปกรณ์รับเข้าแบบกด
แผงแป้นอักขระ (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับ คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยก แคร่ (Shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์ เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 บิต และ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษา ไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษา อังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออกมารุ่น แรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะมีแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาใน พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้น จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า “แผงแป้นอักขระพีซีเอที” และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นพีซีเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้นการเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถ ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลง โดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
2. อุปกรณ์รับเข้าแบบชี้ตำแหน่ง
เมาส์ (Mouse)
ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในระยะหลัง ๆ นี้
สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทนคำสั่ง
มีการใช้งานเป็นช่องหน้าต่าง และเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป
(Icon) อุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า
“เมาส์” (Mouse) เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน
ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น ด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ
บนจอภาพ ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้
ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อน
เมาส์ เมาส์ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบทางกลและแบบใช้แสง
แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลมที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี
เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น
ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y
แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่ง เมาส์แบบทางกลนี้ มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย
มีรูปร่างพอเหมาะ คือ
ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล
สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่อง
สัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพ
เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (Mouse Pad)
ซึ่งเป็นตาราง (Grid) ตามแนวแกน X และแกน Y
เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นตารางรองเมาส์
ก็จะมีแสงตัดผ่านตารางและสะท้อนขึ้นมา ทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไป
เมาส์แบบนี้ไม่ต้องใช้ลูกกลิ้งกลม แต่ต้องใช้แผ่นตารางรองเมาส์พิเศษ
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เนื่อง จากเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการพกพาไปในที่ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงน้อยที่สุด และใช้เนื้อที่ในการใช้งานน้อยที่สุด ดังจะเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวมีแผงแป้นอักขระติดอยู่กับจอภาพและ อุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คือ เมาส์ จึงต้องมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่แทนเมาส์ โดยจะต้องออกแบบให้สามารถติดอยู่กับตัวเครื่องได้เลย สะดวกในการพกพา และใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย ในปัจจุบันเรามีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่และมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
ก) ลูกกลมควบคุม (Track Ball)
มีลักษณะเป็นลูกบอล กลมอยู่ภายในเบ้าตรงบริเวณแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการหมุนลูกกลมไปในทิศทางที่ต้องการ
ลูกกลมควบคุม
ข) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) มีลักษณะเป็นแท่ง พลาสติก ที่ส่วนยอดหุ้มด้วยยางโผล่ขึ้นมาตรงกลาง ในแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โ ดยการโยกแท่งชี้ควบคุมไปในทิศทางที่ต้องการ
แสดงการใช้งานแท่งชี้ควบคุมบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ค) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) เป็นแผ่นพลาสติกที่ ไวต่อการสัมผัส อยู่ตรงหน้าแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่นิยมติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กในปัจจุบัน เนื่องจากใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการแตะสัมผัสบนแผ่นรองสัมผัสเพื่อควบคุมตัวชี้ไปในทิศทางที่ต้องการ และสามารถคลิกหรือดับเบิลคลิกเพื่อเลือกรายการหรือสัญรูปได้
แสดงตำแหน่งของแผ่นรองสัมผัสบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
อุปกรณ์รับเข้าชนิดนี้ เป็นที่คุ้นเคยของนักเรียนที่นิยมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีการแสดงผลเป็น กราฟิกที่ตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพต้องมีการเคลื่อนที่เพื่อทำภารกิจตาม กติกาของเกม ตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพเปรียบได้กับตัวชี้ตำแหน่งที่ปรากฏในซอฟต์แวร์ ประยุกต์ทั่วไปและก้านควบคุมนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ที่คอยกำหนดการ เคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยลักษณะของก้านควบคุมจะคล้ายกล่องที่มีก้านโผล่ออกมา และก้านนั้นสามารถบิดขึ้น ลง ซ้าย ขวา ได้ การเคลื่อนที่ของก้านนี้เองที่เป็นการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ ตำแหน่ง
ก้านควบคุม
หลักการทำงานของก้านควบคุมจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ภายในที่เรียกว่า
“โพเทนชันมิเตอร์” (Potentionmeter) สองตัว
โพเทนชันมิเตอร์จะหมุนตามและอ่านค่าทิศทางการบิดของก้านควบคุม
โพเทนชันมิเตอร์ตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน X หรือแนวนอน (Horizontal
Line) ในขณะที่อีกตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน Y หรือแนวตั้ง (Vertical
Line) การอ่านค่าของการบิดก้านควบคุมของอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นจะให้สัญญาณไฟฟ้า
2 สัญญาณที่เป็นอิสระต่อกันส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
และเป็นข้อมูลที่ไปกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งหรือตัวของผู้เล่นบน
จอภาพ ดังนั้น จะเห็นว่าการทำงานของก้านควบคุมจะไม่ให้รายละเอียดมาก
เพียงแค่ให้ผู้ใช้เห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ได้เท่านั้น 4) อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา
อุปกรณ์รับเข้าในกลุ่ม นี้จะมีส่วนประกอบอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ อุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา แต่จะมีแสงที่ปลาย งานที่ใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้มักเป็นงานเกี่ยวกับกราฟิกที่ต้องมีการวาดรูป งานวาดแผนผัง และงานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design : CAD) ซึ่งถ้าใช้อุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อุปกรณ์รับเข้าระบบปากกาที่มีใช้งานอยู่แพร่หลาย ได้แก่
1) ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่อแสง ที่นอกจากจะใช้ในการวาดรูปสำหรับงานกราฟิกแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่เหมือนเมาส์ในการชี้ตำแหน่งบนจอภาพหรือทำงานกับรายการ เลือกและสัญรูปเพื่อสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ปลายข้างหนึ่งของปากกาชนิดนี้จะมีสายเชื่อมที่สามารถต่อเข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการแตะปากกาที่จอภาพข้อมูลจะถูกส่งผ่านสายนี้ไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถรับรู้ตำแหน่งที่ชี้และกระทำตามคำสั่งได้ นอกจากนี้เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาหรือปาล์มท็อปอย่างแพร่หลาย ก็มีการนำปากกาชนิดนี้มาใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นลายมือบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ด้วย
ปากกาแสง ปลายด้านหนึ่งมีสายเชื่อมไปต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
แสดงการใช้ปากกาแสงเลือกรายการบนจอภาพ
หรืออาจ เรียกว่าแผ่นระนาบกราฟิก (Graphic Tablet) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่มีส่วนประกอบ 2 ชิ้น ได้แก่ กระดานแบบสี่เหลี่ยมที่มีเส้นแบ่งเป็นตาราง (Grid) ของเส้นลวดที่ไวต่อสัมผัสสูง และปากกาที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ตำแหน่งหรือวาดรูปบนกระดานข้างต้น คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ตำแหน่งของกระดานที่มีการสัมผัสหรือวาดเส้น และเส้นที่วาดจะแสดงบนจอภาพได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้มักใช้ในการออกแบบรถยนต์หรือหุ่นยนต์
แสดงการใช้เครื่องอ่านพิกัดช่วยในงานออกแบบ
4) อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษที่สามารถรับรู้ได้ว่ามีการสัมผัสที่ตำแหน่งใดบนจอภาพ เมื่อมีการเลือก ตำแหน่งที่เลือกจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่ทำงานเพื่อแปล เป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมักเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเฉพาะ การใช้จอสัมผัสเหมาะกับการใช้งานหรือซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการเลือกคำสั่งใน รายการเลือกหรือสัญรูป โดยต้องออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ให้มีสัญรูปที่มีขนาดใหญ่ เพื่อสะดวกในการเลือกและลดความผิดพลาด ปัจจุบันเราจะพบเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพสัมผัสวางอยู่ทั่วไปตาม สถานที่สาธารณะหรือห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งไว้เพื่อให้ข้อมูลทางการท่อง เที่ยว เครื่องคอมพิวเตอร์บอกตำแหน่งต่าง ๆ ในสถานที่ เครื่องคอมพิวเตอร์อธิบายสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่ตู้เกมแบบหยอดเหรียญ
แสดงการใช้งานจอสัมผัสเลือกตำแหน่งบนจอภาพ
เทคโนโลยีการผลิตจอภาพสัมผัสในปัจจุบันมีด้วยกัน 4
แบบได้แก่เทคโนโลยีเยื่อเชิงตัวนำ (Conductive Membrane)
เทคโนโลยีจานเก็บประจุ (Capacity Plate) เทคโนโลยีคลื่นจากสมบัติของเสียง
(Acoustic Wave) และเทคโนโลยีลำแสงรังสีอินฟาเรด (Infrared-Beam)
ซึ่งเทคโนโลยีสุดท้ายเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากมีความละเอียดมาก
แต่ก็มีราคาแพง
ถึงแม้การใช้จอภาพสัมผัสจะช่วยให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น
โดยสามารถใช้นิ้วมือสั่งงานบนจอภาพโดยตรง
แต่ก็ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานทั่วไป
เนื่องจากอุปกรณ์ประเภทนี้มีน้ำหนักมากและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูง5) อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ
1) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
ก่อนที่เราจะรู้จักกับ เครื่องอ่านรหัสแท่ง ก็คงต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “รหัสแท่ง” (Bar Code) ก่อน รหัสแท่งเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้บ่อยในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบนสินค้าในห้างสรรพสินค้าหรือบนหนังสือห้องสมุด รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่มีลักษณะเป็นแท่งหรือแถบสีขาวและดำเรียง ต่อเนื่องกันในแนวตั้ง แต่ละแท่งมีความหนาไม่เท่ากัน ความหนาที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เราสามารถใช้รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์แทน สินค้าหรือของที่ต่างชนิดกันหรือคนละชิ้นกันได้
รหัสแท่ง
สำหรับเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเพื่อนำเข้าข้อมูลที่
เป็นรหัสแท่งโดยเฉพาะ โดยก่อนที่จะนำระบบการอ่านรหัสแท่งมาใช้ในงานใด ๆ
ต้องกำหนดมาตรฐานของรหัสแท่งที่ใช้เสียก่อน เช่น
ในซูเปอร์มาร์เก็ตนิยมใช้มาตรฐานยูพีซี (Universal Product Code :
UPC)ซึ่งเข้ารหัสโดยใช้ตัวเลขความยาว 12 ตัว
โดยตัวเลขแต่ละตัวจะมีความหมายที่สามารถอ้างถึงสินค้าได้ ในขณะที่หน่วยงาน
เช่น โรงเรียน โรงงาน มักนำมาตรฐานโค้ด 39 (Three Of Nine) มาใช้งาน
เนื่องจากมีความยืดหยุ่นกว่า และสามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลข
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และอักขระพิเศษ
นอกจากนี้ยังสามารถขยายความยาวของรหัสได้ตามต้องการด้วย
เครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ
การทำงานของเครื่องอ่านรหัสแท่งใช้หลักการของการสะท้อนแสง
โดยเครื่องอ่านจะส่องลำแสงไปยังรหัสแท่งที่อยู่บนสินค้า
แล้วแปลงรหัสที่อ่านได้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านสายที่เชื่อมต่ออยู่กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นนี้โดยเฉพาะนำไป
ประมวลผล ซึ่งโดยมากมักเป็นซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูล เช่น
ถ้าเป็นการขายสินค้า
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์รับสัญญาณจากเครื่องอ่านจะรับรู้ว่าสินค้าชนิดใดถูก
ขายไป
ซอฟต์แวร์จะสั่งให้ไปดึงข้อมูลราคาของสินค้าชนิดนั้นขึ้นมาแสดงที่จอภาพ
ในขณะเดียวกันจะไปลดจำนวนสินค้าชนิดนั้นออกจากข้อมูลสินค้าคงคลัง
เครื่องอ่านรหัสแท่งนี้ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถอำนวยความสะดวกใน
การนำเข้าข้อมูลแทนการนำเข้าข้อมูลผ่านแผงแป้นอักขระ
สามารถลดความผิดพลาดระหว่างการนำเข้าข้อมูล
และช่วยให้การทำงานเป็นอัตโนมัติเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้ 2) เครื่องกราดตรวจ (Scanner)
หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า “สแกนเนอร์” (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้งานเอกสารและงานนำเสนอข้อมูลเป็น อย่างมาก อุปกรณ์นี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์ ได้ โดยใช้หลักการสะท้อนแสง ข้อมูลที่รับเข้าโดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นรูปภาพที่ได้รับการแปลงให้อยู่ใน รูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและตีความได้ และสามารถเก็บในหน่วยความจำได้ ผู้ใช้สามารถนำรูปดังกล่าวไปประกอบในแฟ้มข้อมูลเอกสารที่สร้างจากซอฟต์แวร์ ประมวลคำ หรือแฟ้มข้อมูลงานนำเสนอที่สร้างจากซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูลได้
เครื่องกราดตรวจ
ในการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ช่วยในการแสดงข้อมูลและจัดเก็บ
ด้วย การทำงานของอุปกรณ์ใช้เทคโนโลยีการส่องแสงผ่านฟิลเตอร์ 3 ตัว ได้แก่
ฟิลเตอร์สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ไปยังวัตถุที่ต้องการกราดตรวจ (Scan)
เมื่อแสงผ่านวัตถุจะเกิดการสะท้อนผ่านกระจกและเลนส์ส่งไปยังวัตถุไวแสง
ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับความเข้มของแสง
หลังจากนั้นแปลงความเข้มของแสงที่แตกต่างกันให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอลที่
คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
และข้อมูลดังกล่าวจะแสดงเป็นรูปภาพโดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่อง
สแกนเนอร์นั้น ๆ
ผู้ใช้สามารถจัดเก็บแล้วนำรูปที่ได้ไปตกแต่งเพิ่มเติมโดยใช้ซอฟต์แวร์กราฟิก
เช่น ซอฟต์แวร์โฟโทชอพ (Photoshop)คุณภาพของสแกนเนอร์
จะพิจารณาจากความละเอียดของภาพซึ่งมีหน่วยเป็นจุดต่อนิ้ว (Dot Per Inch :
dpi) ภาพที่มีจำนวนจุดต่อนิ้วมากจะมีความละเอียดสูง ซึ่งจะเหมือนรูปจริงมาก
นอกจากนี้ความสามารถในการแยกแยะสีของสแกนเนอร์และความเร็วในการกราดตรวจก็มี
ความสำคัญเช่นกัน3) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่นิยมมากในปัจจุบัน อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือกราฟิก มีลักษณะและการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายรูปธรรมดาทั่วไป แต่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่จะเก็บข้อมูลภาพไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลที่เก็บเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล ที่รูปแต่ละรูปประกอบด้วยจุดภาพ(Pixel) เล็ก ๆ จำนวนมาก ความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดดังกล่าว กล้องดิจิตอลที่ผลิตได้ในปัจจุบันมีความละเอียดของภาพมากกว่า 1 ล้านจุดภาพ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้กล้องดิจิตอลเป็นที่นิยม คือ ผู้ใช้สามารถดูผลการถ่ายรูปได้หลังจากถ่ายรูปแต่ละรูปเลย โดยใช้จอภาพที่อยู่บนกล้อง หากรูปที่ถ่ายนั้นไม่เป็นที่พอใจก็สามารถถ่ายใหม่ได้ทันที
กล้องถ่ายภาพดิจิตอลและหน่วยความจำแบบแฟลชที่เก็บข้อมูล
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลของกล้องดิจิตอลเป็นอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งก็คือหน่วยความจำรองที่ใช้เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
เช่น แผ่นบันทึก หรือหน่วยความจำที่เรียกว่า “คอมแพ็กแฟลช” (Compact
Flash) ซึ่งเป็นแผ่นซิลิคอนเล็ก ๆ ที่บรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไว้จำนวนมาก
มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเหมาะกับการพกพา
เมื่อต้องการย้ายข้อมูลรูปภาพในคอมแพ็กแฟลชมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้อง
ใช้สายเชื่อมต่อจากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อหรือเส้นทางใน
การย้ายข้อมูล
อุปกรณ์รับเข้าแบบจดจำเสียง
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่นี้มีความพยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถรับคำสั่งหรือข้อมูลที่เป็นเสียงพูดได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อประโยชน์ดังกล่าว เรียกว่า “อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด” (Speech Recognition Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักคอมพิวเตอร์และนัก ภาษาศาสตร์ การใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ที่เก็บฐานข้อมูลของคำศัพท์และความหมาย ของคำ นอกจากนี้ยังต้องจดจำน้ำเสียงและสำเนียงของผู้ที่จะใช้งานด้วย เนื่องจากการพูดของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในแง่ของน้ำเสียงและสำเนียง ดังนั้นก่อนการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนี้ ต้องทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และจดจำน้ำเสียงและสำเนียงของผู้ใช้งานระยะ หนึ่งก่อนจึงจะใช้เริ่มงานจริงได้ ส่วนการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้จะรับข้อมูลเข้าทางไมโครโฟน (Microphone) แล้วแปลงข้อมูลเสียงให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล หลังจากนั้นนำข้อมูลที่แปลงได้ไปเปรียบเทียบกับคำศัพท์ในฐานข้อมูล หาความหมายของคำนั้น ซึ่งอาจเป็นคำสั่ง เมื่อได้ความหมายก็สั่งให้คอมพิวเตอร์กระทำการตามความหมายของคำสั่งดังกล่าว ถึงแม้อุปกรณ์ชิ้นนี้จะสามารถรับเข้าข้อมูลสะดวกสบายขึ้น อีกทั้งสามารถช่วยคนตาบอดที่ไม่สามารถสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านแผงแป้น อักขระหรือเมาส์ได้ แต่ก็ยังมีข้อเสียที่ต้องได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เช่น ปัญหาในเรื่องของน้ำเสียงและสำเนียง เนื่องจากผู้สั่งการถึงแม้จะเป็นคนเดียวกัน แต่หากสั่งการในสภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน มีผลให้น้ำเสียงแตกต่างจากเดิม การทำงานของอุปกรณ์ก็อาจผิดพลาดไปได้ ปัญหาในเรื่องความสามารถในการจดจำคำศัพท์ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของหน่วยความ จำ ทำให้จำนวนคำศัพท์ที่จำได้มีจำกัด และไม่สามารถแยกแยะคำศัพท์ที่พ้องเสียงกันได้ เช่น คำศัพท์ภาษาอังกฤษ to too และ two
อ้างอิง http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=86&Itemid=102
หน่วยความจำ (Memort Unit)
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก
ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ)
เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว
และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง
หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่
ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีก
แล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS)
หรือเฟิร์มแวร์
ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข
ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน
เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)
เป็นหน่วยความจำหลัก
ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้
อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ
และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป
หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล
ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม
ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม
อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที
เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้
จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)
เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะ
หายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile
ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง
จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage
หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage
ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส
ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม
กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)
เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง
จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้
กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data
เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data
เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก
เพื่อการประมวลผลต่อไป
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage)
จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล
สำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท
จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก
ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้
จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้
และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk )
ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks)
ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็น
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์
ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5
นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies)
เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น
แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง
แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม
อ้างอิงจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)